ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
คือ อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังซึ่งมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามมาได้ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัวของคนวัยทำงาน
พฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม
- ทำกิจกรรมหรือทำงานลักษณะเดิมต่อเนื่องอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เช่น พนักงานออฟฟิศที่จ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ไม่ค่อยลุกไปไหน หรือพนักงานขับรถที่ต้องขับรถเป็นเวลานานต่อเนื่อง
- ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic)
- ไม่ค่อยยืดผ่อนคลายกล้ามเนื้อเมื่อรู้สึกตึงจากการทำงาน
- ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบำบัด
เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ช่วยปรับโครงสร้างร่างกายในส่วนที่มีปัญหาให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ตามความเหมาะสมของอาการของแต่ละคนรวมถึงการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่าง ๆ เช่น การประคบร้อน การทำอัลตร้าซาวด์ การทำช็อคเวฟ หรือการดึงคอดึงหลัง ก็จะทำให้อาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมลดลง







แหล่งอ้างอิง : โรงพยาบาลรามาธิบดี